วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

จัดทำโดย นายโสรฬ เดชศัดา รหัสนักศึกษา 6031280065

สแกนเนอร์



  สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอ์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้
            - ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
            - บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
            - แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
            - เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ
             โดยพื้นฐานการทำงานของสแกนเนอร์, ชนิดของสแกนเนอร์ และความสามารถในการทำงานของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ 

ชนิดของเครื่องสแกนเนอร์ 


             สแกนเนอร์สามารถจัดแบ่งตามลักษณะทั่วๆ ไป ได้ 2 ชนิด คือ 
             Flatbed scanners, ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMaker III Transparency and slide scanners, ซึ่งถูกใช้สแกนโลหะโปร่ง เช่น ฟิล์มและ สไลด์ 

การทำงานของสแกนเนอร์ 

             การจับภาพของสแกนเนอร์ ทำโดยฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพ จะถูกจับโดยเซลล์ที่ไวต่อแสง   เรียกว่า charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสงได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสงได้มากกว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับ 
จากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และเปลี่ยนคลื่นของแสงที่สะท้อน กลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอล  หลังจากนั้นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงเอาสัญญาณเหล่านั้นกลับมาเป็นภพ บนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง 

สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสแกนภาพมีดังนี้ 

             - สแกนเนอร์ 
             - สาย SCSI สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ 
             - ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้ สแกนภาพตามที่กำหนด 
             - สแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำกลับมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนด้าน OCR 
             - จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์ 
             - เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์หรือสไลด์โปรเจคเตอร์ 

ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน  แบ่งเป็นประเภทดังนี้ 

             1. ภาพ Single Bit 

                 ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุดใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล น้อยที่สุดและ นำมาใช้ประโยชน์อะไรไ่ม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที่ ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single-bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ 
                - Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต 
                 - Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single-bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ 

             2. ภาพ Gray Scale 

                ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิมภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่า 
ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น 

             3. ภาพสี 

                หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ควาามสามารถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าใช้สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร 

             4. ตัวหนังสือ 

                ตัวหนังสือในที่นี้ ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้อง พิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสาร ดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอก จากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Reconize) มาแปลงแฟ้มภาพเป็น เอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ไขได้

บาร์โค้ด

จัดทำโดย นาย โสรฬ เดชศักดา รหัสนักศึกษา 6031280065

บาร์โค้ด

บาร์โค้ดคืออะไร

ระบบบาร์โค้ดหมายถึงการใช้สัญลักษณ์บาร์โค้ดบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษร และประยุกต์ต่อยอดโดยการนำตัวเลขหรือตัวอักษรเหล่านั้นบ่งชี้ไปยังสิ่งต่างๆ เช่น สินค้า (Product), วันหมดอายุ (Expiration date), รหัสเฉพาะสินค้า (Serial number), บุคคล (Person), URL Website เป็นต้น

บาร์โค้ดมีกี่ประเภท

1D Barcode (1 Dimension Barcode) 

 หมายถึงบาร์โค้ดหนึ่งมิติ ที่ใช้หลักการเข้ารหัสเลขฐานสอง (Binary codes) โดยความหนาของแท่งสีดำกับแท่งสีขาวในบาร์โค้ดจะเป็นตัวบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขที่กำกับไว้ด้านล่างของบาร์โค้ด เทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดหนึ่งมิติได้แก่ Laser และ Linear ลักษณะของการนำบาร์โค้ดหนึ่งมิติไปประยุกต์ใช้คือการนำข้อมูลตัวเลขในบาร์โค้ดบ่งชี้ไปยังข้อมูลของสินค้าชนิดนั้นๆ เช่น บาร์โค้ดรหัส 000001 ใช้แทนสินค้า A , บาร์โค้ดรหัส 000002 ใช้แทนสินค้า B เป็นต้น

2D Barcode (2 Dimension Barcode) 

 หมายถึงบาร์โค้ดสองมิติ ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานหลักการเดียวกันกับบาร์โค้ดหนึ่งมิติ บาร์โค้ดหนึ่งมิติมีลักษณะการแทนข้อมูลที่เป็นตัวเลขเท่านั้น แต่สำหรับบาร์โค้ดสองมิติจะสามารถบ่งชี้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรได้ นอกจากนั้นบาร์โค้ดสองมิติจะสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ดหนึ่งมิติ รูปแบบของบาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้โดยทั่วไปคือ QR-Code พัฒนาขึ้นโดยประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีทั้งตัวเลขและตัวอักษรรวมกันเช่น URL Website , ID Line เป็นต้น และ Data Matrix พัฒนาโดยประเทศสหรัฐอเมริกานิยมใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ ที่ต้องการบาร์โค้ดขนาดเล็กและสามารถจุข้อมูลได้มาก เทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดสองมิติได้แก่ Array Imager ที่สามารถอ่านได้ทั้งบาร์โค้ดหนึ่งมิติและบาร์โค้ดสองมิติ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 1D Barcode (1 Dimension Barcode)
 
 

บาร์โค้ดช่วยอะไรได้บ้าง

ลดขั้นตอนและประหยัดเวลาการทำงาน 

 การซื้อ-ขาย สินค้าจะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคงคลัง 

ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลังคอมพิวเตอร์ 

 ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือเท่าใด 

ยกระดับมาตรฐานสินค้า 

 การระบุแหล่งผลิตของประเทศแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพเพื่อรักษาภาพพจน์ของสินค้าและสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องสัญลักษณ์ รหัสแท่งสำหรับแสดงข้อมูลสินค้า 

สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ 

 รหัสแท่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่มีคุณภาพดีเชื่อถือได้ การมีรหัสประจำตัวของแต่ละประเทศทำให้ผู้ที่สนใจซื้อสินค้าสามารถทราบถึงแหล่งผลิตและติดต่อซื้อ-ขายกันได้สะดวกโดยตรง เป็นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก 

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร 

 ข้อมูลจากระบบรหัสแท่ง จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถตัดสินใจวางแผน และบริหารงานด้านการผลิต การจัดซื้อ และการตลาดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 
 
บาร์โค้ดมีความสำคัญอย่างไร_07 

สะดวก & แม่นยำ

ลักษณะการทำงาน บาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง ไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ โดยอาศัยหลักของการสะท้อนแสง ทำให้มีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
เครื่องสแกนเนอร์มีชนิดต่าง ๆ กัน ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่ออ่านบาร์โค้ดที่ได้รับการพิมพ์อย่างถูกต้อง เครื่องสแกนเนอร์จะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์กลาง เพื่อทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกครั้งที่มีการซื้อเข้าและการขายออกได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

การพิมพ์บาร์โค้ดลงบนตัวสินค้า

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ที่นิยมใช้กันในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ตัวอย่างเช่น เครื่องพิมพ์วันที่ผลิต และรหัสสินค้า ในกลุ่ม เครื่องพิมพ์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับเครื่องบรรจุซองอัตโนมัติ ทั้งแบบ Intermittent และ แบบ Continuous ให้ความละเอียดสูง 300 dpi รองรับการพิมพ์หลายบรรทัดและโลโก้หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้ตามต้องการที่สำคัญไม่มีกลิ่นรบกวน เหมาะกับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเป็นอย่างยิ่ง สามารถพิมพ์รหัสแท่งบาร์โค้ดลงบนแผ่นฟิล์มได้

เกล็ดความรู้

ในกรณีส่งออกต่างประเทศ จำเป็นจะต้องลงทะเบียนบาร์โค้ดกับ สถาบันรหัสสากล (GS1) เพื่อขอรับรหัสของบาร์โค้ดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศและบริษัทนั้นๆ ซึ่งบาร์โค้ดที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเทศไทยได้แก่ EAN-13 ซึ่งจะสามารถจุข้อมูลเลขได้ 13 หลัก โดย GS1 จะเป็นผู้กำหนดตัวเลขใน 8 หลักแรก ซึ่งแบ่ง 3 หลักแรกเป็นรหัสประเทศ ประเทศไทยนั้นจะเป็นรหัส 885 ตัวเลข 5 หลักถัดมาจะเป็นรหัสบริษัทที่ทาง GS1 กำหนดให้แต่ละบริษัทจะได้เลขรหัสไม่เหมือนกัน ตัวเลข 4 หลักต่อมาจะเป็นรหัสสินค้าที่แต่ละบริษัทสามารถเป็นคนกำหนดด้วยตัวเองได้ และหลักสุดท้ายจะเป็นเลขที่ถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อเช็คว่าเลข 12 หลักแรกนั้นถูกต้อง

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

เครื่องพิมพ์รหัสสินค้า ข้อมูลผลิตภัณฑ์ บนบรรจุภัณฑ์แบบอัติโนมัติ 

เครื่องพิมพ์รหัสสินค้า ข้อมูลผลิตภัณฑ์ บนบรรจุภัณฑ์แบบอัติโนมัติ
Sample_ตัวอย่างการพิมพ์ VJ 6210_2
THARMAL INKJET เครื่องพิมพ์วันที่และรหัสสินค้า VJ 8510 – 8610 ที่สามารถพิมพ์รหัสแท่งแบบบาร์โค้ดได้บนวัสดุประเภทผิวมัน
เครื่องพิมพ์วันที่ เครื่องพิมพ์กล่องที่มีความคมชัด และความละเอียดสูง
เครื่องพิมพ์วันที่ เครื่องพิมพ์กล่องที่มีความคมชัด และความละเอียดสูง

เครื่องคิดเงินร้านค้า

จัดทำโดย นาย โสรฬ เดชศักดา รหัสนักศึกษา 6031280065

เครื่องคิดเงินร้านค้า

POS คืออะไร

POS คือ point of sale ซึ่งหมายถึงเวลาและสถานที่ที่การขายได้เกิดขึ้นและเสร็จสิ้น
ระบบ POS หมายถึง hardware, software และการ support ที่ใช้บริหารจัดการธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงการจ่ายผ่านบัตรเครดิต และการดำเนินงานหลังการทำธุรกรรมที่นำไปสู่การเติมเต็มความต้องการให้ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมขายหน้าร้าน ร้านค้าปลีก หรือสำหรับระบบ ร้าน อาหาร ฟังก์ชั่นการใช้งานของโปรแกรม POS สามารถตอบโจทย์มากกว่าการชำระเงินแบบเก่าระบบ point of sale สามารถเป็นศูนย์กลางให้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า รายงานการขาย หรือแม้แต่การบริหารจัดการลูกจ้าง และคลังสินค้า การทำธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีแบบแยกชิ้นกันนั้นทำให้เกิดความยุ่งยาก และไม่มีประสิทธิภาพ ระบบ point of sale เชื่อมต่อทุกส่วนของธุรกิจเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทำไมต้องใช้ โปรแกรมขายหน้าร้านReal4POS

โปรแกรม POS ขายหน้าร้าน Real4POS เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อร้านค้าและร้านอาหาร สำหรับแคชเชียร์โดยเฉพาะ ข้อมูลการขายอยู่ที่เครื่องลูกค้า ไม่ได้อยู่บน Cloud สามารถดูรายงาน Online ได้ ไม่เก็บค่าบริการรายเดือนและรายปี ทำงานได้ทั้งระบบปฎิบัติการ Windows และ Android 

มีระบบสำรองข้อมูล

เครื่องบันทึกเงินสดรุ่นนี้สามารถสำรองข้อมูลการขาย หากเกิดกรณีไฟฟ้าดับ(เครื่องจะทำการบันทึกข้อมูลทุกอย่างก่อนไฟฟ้าดับโดยอัตโนมัติ และเมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ภาวะปกติ เครื่องจะทำการคืนสถานะการยันทึกการขายล่าสุดก่อนไฟฟ้าดับอัตโนมัติ)

มีลิ้นชักเก็บเงินในตัว

-เครื่องบันทึกเงินสดรุ่นนี้มีลิ้นชักเก็บเงินในตัว เมื่อมีการรับเงินจากลูกค้า ลิ้นชักเก็บเงินจะถูกเปิดออกอย่างอัตโนมัติ
-มีระบบรักษาความปลอดภัยด้วยกุญแจ 2 ประเภท (เจ้าของ, แคชเชียร์)
-ลิ้นชักมี 4 ช่องแบงค์ 8 ช่องเหรียญ

ใช้กระดาษความร้อน

-เครื่องบันทึกเงินสดรุ่นนี้มีชุดหัวพิมพ์แบบ Thermal จึงไม่ต้องเติมหมึกพิมพ์ให้เสียเวลา และยุ่งยาก 
-ใช้คู่กับกระดาษความร้อนเท่านั้นซึ่งกระดาษความร้อน หรือเรียกอีกอย่างว่า กระดาษ Thermal จะมีลักษณะคล้ายกระดาษแฟ็กซ์หรือสลิปกดเงินจากคู้ ATM
-กระดาษกว้างขนาด 57 ม.ม.

เทคโนโลยี ภาพเสียงไร้สาย

จัดทำโดย นาย โสรฬ เดชศักดา รหัสนักศึกษา 603128005
เทคโนโลยี ภาพเสียงไร้สาย

ในตอนนี้ที่ไทยมี Google Chromecast เข้ามาขายอย่างเป็นทางการแล้ว และเราก็ได้ทดลองให้ดูกันไปรอบหนึ่งแล้วว่า Chromecast นั้นมีความสามารถอะไรบ้าง เชื่อว่าหลายคนก็อาจจะยังสงสัยคาใจว่าตอนนี้ในตลาดมีเทคโนโลยีส่งภาพขึ้นจออื่นเต็มไปหมด ไมว่าจะเป็น AirPlay, Miracast, DLNA, Chromecast และอีกสารพัดชื่อที่ผู้ผลิตแต่ละเจ้าก็ใช้ชื่อไม่เหมือนกันอีก ผมก็เลยไปค้นข้อมูลมาว่าแต่ละตัวนั้นมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

DLNA

dlna-2-logo
dlna-2-logo
เอาเป็นว่าเริ่มจากเทคโนโลยีตัวที่เก่าที่สุดก่อนเลยก็แล้วกัน นั่นก็คือ DLNA จริงๆ ต้องบอกกันไว้หน่อยว่า DLNA  (ดีแอลเอ็นเอ) มีชื่อเต็มๆ คือ Digital Living Network Alliance เป็นชื่อของกลุ่มความร่วมมือ ไม่ใช่ชื่อเทคโนโลยีโดยตรง โดยกลุ่มนี้ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นมาตอนปี 2003 กลุ่มของ DLNA เป็นความร่วมมือของผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายเจ้า โดยมีหัวหอกคือ Sony (จึงไม่แปลกที่เราเห็นสินค้าโซนี่รองรับมาตรฐานแทบทั้งนั้น) ในตลาดก็ติดปากพูดกันว่าเป็นสินค้า DLNA certified ผมก็ขอเรียกมันว่าเทคโนโลยี DLNA นี่แหละ
ลักษณะการเชื่อมต่อของ DLNA
dlna-diagram
ภาพจาก : https://gl.access-company.com/products/itelectoronics/livingconnect/dlna_use_cases/
ตัว DLNA นั้นเป็นเทคโนโลยีที่เน้นการใช้งานในพื้นที่ส่วนตัว สมชื่อ Digital Living (แรกเริ่มมีชื่อว่า Digital Home Working Group ด้วยซ้ำ) ใช้หลักการของ Universal Plug and Play (uPnP) ที่ใช้อินเตอร์เน็ตวงเดียวกันเพื่อค้นหาอุปกรณ์และสั่งงาน การทำงานของ DLNA นั้นจะเป็นลักษณะของการชี้เป้าให้อุปกรณ์แสดงผลสามารถดึงข้อมูลจากอุปกรณ์อีกตัวผ่านวง LAN เดียวกัน เช่น ให้ทีวีดึงหนังจากฮาร์ดดิสก์ NAS มาเล่น หรือการเอาเพลงจากมือถือไปเล่นบนลำโพงที่รองรับ โดยอุปกรณ์ที่สั่งงานนั้นไม่จำเป็นต้องเปิดอยู่ตลอดเวลา สำหรับจุดด้อยของ DLNA คือไม่สามารถดึงข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตภายนอกโดยตรงไม่ได้ จะเป็นการเอาข้อมูลที่เข้าถึงได้ในวง LAN เท่านั้น

Apple TV (AirPlay)

Apple TV นั้นเป็นอุปกรณ์ของทางแอปเปิลที่ผลิตออกมาเพื่อเชื่อมต่อให้ทีวีมีความสามารถมากยิ่งขึ้น ทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ tvOS ในตัวและเทคโนโลยี AirPlay แต่ผมจะจับในแง่ของ AirPlay ที่เป็นการเชื่อมต่อไร้สายมาพูดถึง
airplay-device
สำหรับ AirPlay บน Apple TV นั้นจะสามารถใช้งานได้ทั้งหมด 2 รูปแบบ นั่นก็คือ
1. รูปแบบการสตรีม หรือก็คือตัวที่เรียกว่า AirPlay เปล่าๆ นั่นแหละ สามารถสตรีมวิดีโอ,เพลง จากเครื่อง หรือผ่านแอปที่
รองรับไปเข้า Apple TV เพื่อแสดงบนทีวี ระหว่างนั้นอุปกรณ์ที่สั่งก็สามารถใช้งานอย่างอื่นได้ รวมถึงใช้เป็นรีโมทได้
2. รูปแบบ Mirroring หรือ AirPlay Mirroring แสดงภาพจอของอุปกรณ์บนหน้าจอทีวีที่ต่อกับ Apple TV โดยโหมดนี้จะเป็นการถ่ายทอดภาพ เราจิ้ม ขยับอะไรในอุปกรณ์ ก็จะแสดงผลบนจอทีวีเหมือนกัน เพียงแต่จะซ่อนเมนูบางอย่างออกให้ เช่น สถานะเครื่อง (แบต, สัญญาณ Wi-Fi)
แต่ข้อด้อยที่ต้องพูดถึงของ Apple TV ก็คือการที่รองรับการเชื่อมต่อแค่กับอุปกรณ์ Apple เท่านั้น หรือก็คือใช้ได้แค่กับระบบ iOS กับ Macbook อุปกรณ์อื่นๆ จากฝั่ง PC, Android มาใช้ร่วมไม่ได้

Miracast

miracast-logo
การทำงานของเทคโนโลยี Miracast นั้นจะเป็นลักษณะของ Screen Mirrioring คล้ายกับโหมด AirPlay Mirroring ของบน Apple TV ต่างกันตรงที่อุปกรณ์ที่จับคู่กันไม่จำเป็นต้องต่อ Wi-Fi ในวงเดียวกัน และหน้าจอที่ Miracast ส่งไปขึ้นทีวีนั้นจะเป็นการแสดงผลแบบเหมือนกันเป๊ะๆ แถบแสดงสถานะของเครื่อง แถบควบคุมวิดีโอ/เสียง ก็แสดงขึ้นไปหมด เมื่อนำไปเทียบกับผลที่ได้บน Apple TV จุดนี้จึงกลายเป็นข้อด้อยของ Miracast ไปโดยปริยาย
miracast-sample
ภาพจาก: Sam Churchill, http://www.flickr.com/photos/samchurchill/8135967427
แม้ว่าผู้ผลิตจำนวนมากจะนำเทคโนโลยี Miracast ไปใช้ในผลิตภัณฑ์ตัวเองอย่างแพร่หลาย แต่ทว่า ด้วยเหตุที่ Miracast นั้นไม่มีการกำหนดมาตรฐานไว้ชัดเจนทั้งในเรื่องของ Latency (ช่วงเวลาหน่วง) ที่ไม่ได้กำหนดเพดานสูงสุดไว้, การใช้งานอุปกรณ์เสริมบางอย่างที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างผู้ผลิตมาเจอกันแล้วใช้งานไม่ได้ และการตั้งชื่อของผู้ผลิตแต่ละเจ้าก็เละเทะจนผู้ใช้ไม่รู้ว่ามันคือเทคโนโลยี Miracast ตัวเดียวกัน ตัวอย่างเช่น LG ใช้ชื้อว่า SmartShare, Samsung ใช้ชื่อว่า AllShare Cast, Panasonic ตั้งชื่อว่า Display Mirroring และ Sony ก็ตั้งว่า Screen Mirroring

ezcast 

EZCast 5G รุ่นใหม่ล่าสุด ที่จะมาทดแทน EZCast W2 ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของไวไฟให้ดีขึ้น เสถียรขึ้น อีกทั้งฮาร์ดแวร์ชุดใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่าเดิม
เปลี่ยน TVธรรมดาๆ คุณให้สามารถเชื่อมต่อใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ คุณสามารถดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์ ได้โดยการควบคุมผ่าน Smart Phone (Android/Iphone),Tablet และคอมพิวเตอร์ จะสามารถแชร์ข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ ไฟล์ Documet Ebook หรือแม้กระทั่งเกมส์ เข้าสู่จอTV ได้เลย
รองรับ iOS 8.0+, MacOS10.8+ , Windows8.1+, Android 4.3+

wecast

ข้อมูลผลิตภัณฑ์


สเปค
แบรนด์ Wecast
โมเด็มรับสัญญาณ HDMI Dongle Wifi
Wi-Fi แบบไร้สาย Wi-Fi 802.11b / g / n แสดง Miracast / Wi-Fi: ใช้ Wi-Fi Direct Support Miracast, โปรโตคอลการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย DLNA
อื่น ๆ ถอดรหัสวิดีโอความละเอียดสูง (1080p @ 60fps)
Airplay: สำหรับอุปกรณ์ IOS
Miracast: สำหรับ Android 4.2 ขึ้นไป
I / O: HDMI 1.4; พอร์ต USB ขนาดเล็กสำหรับแหล่งจ่ายไฟ
การออกอากาศ: สนับสนุนวิดีโอและภาพที่สนับสนุนการทำงานของภาพสะท้อน
DLNA: แสดงภาพเสียงและวิดีโอบนโปรโตคอล DLNA, Android OS
สนับสนุนโทรศัพท์แอนดรอยด์: สำหรับ Samsung Note3 / Galaxy S3 / Galaxy S4 สำหรับ MI 2 / MI 2S GIONEE OPPO find5 ZTE nubia AMOI N828
แท็บเล็ตสนับสนุน: Android 4.2 OS
ระบบปฏิบัติการ Linux OS, Kernel: 3.0.8+
CPU RK2928, 1.2GHz, Cortex A9
RAM 256MB DDR3

ระบบเสียง Sound/Audio Systems

จัดทำโดย นาย โสรฬ เดชศักดา รหัสนักศึกษา 6031280065
ระบบเสียง Sound/Audio Systems


 หมายถึงการนำอุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆมาต่อเชื่อมกันให้ทำงานอย่างเป็นระบบ
     จึงเป็นการรวบรวมอุปกรณ์เกี่ยวกับเสียงที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดให้เกิดความสมดุลย์ในการเชื่อมต่อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
หากแบ่งตามจุดประสงค์การใช้งานด้านเสียงจะแบ่งระบบเสียงตามการใช้งานได้ดังต่อไปนี้
    1 ระบบกระจายเสียงสาธารณะ Public address  หรือทีรู้จักกันดีว่าว่าระบบ PA เป็นงานระบบเสียงที่ต้องกำหนดบริเวณหรือจุดหวังผลที่ต้องการกระจายเสียงและคุณลักษณะของเสียงที่ต้องการกระจาย เพื่อออกแบบระบบและเลือกใช้อุปกรณ์เสียงต่างๆให้ถูกต้องโดยเฉพาะด้านกำลังขยายเสียงที่ต้องใช้ การจัดย่านความถี่เสียง และตำแหน่งของลำโพง ซึ่งอาจจัดขนาดของระบบตามลักษณะของปริมาณเสียงที่ใช้ในระบบ    2 ระบบเสียงเพื่อความบันเทิง Entertainment  มีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิงของกลุ่มบุคคลที่ต้องการฟังเสียงจากระบบนั้น อาจเป็นการประกอบการแสดงต่างๆ การร้องเพลง หรือเต้นรำ และความบันเทิงอื่นๆ จึงต้องจัดระบบให้เหมาะสมตามกิจกรรม และระวังปัญหาเรื่องผู้ที่ไม่ต้องการฟังเสิยงหรือไม่ร่วมกิจกรรมบันเทิงนั้นๆ จึงเน้นความสำคัญเรื่องสถานที่จัดงานบันเทิงหรือ Entertainment venue เพื่อระบบเสียงที่ดีด้วย    3 ระบบเสียงเพื่อการประชุมและการอบรมสัมนา    มีการบรรยายและแสดงข้อมูลต่างๆ และซักถามโต้ตอบในการประชุมอภิปรายต่างๆ หรือมีการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ จึงต้องมีการออกแบบเรื่องการสื่อสารสองทางหรือ Two-way communication และกำหนดลักษณะการประชุมเพื่อจัดตำแหน่งและคุณสมบัติของอุปกรณ์ในระบบเสียงต่างๆให้ถุกต้อง ถ้าหากเป็นงานขนาดใหญ่อาจต้องใช้สถานที่เฉพาะเช่น Conference centre เพื่อความสะดวกในการออกแบบติดตั้งระบบเสียง     4 ระบบเสียงเพื่อการสื่อสารข้อมูลและประชาสัมพันธ์    อาจคล้ายคลึงกับข้อ 2.1 และ 2.3 ในบางส่วน  แต่มีการกำหนดควบคุมพื้นที่เพื่อเลือกรับส่งข้อมูลเสียง    5 ระบบเสียงเคลื่อนที่เอนกประสงค์โดยแต่ละระบบดังกล่าว อาจมีการใช้อุปกรณ์ร่วมกันหรือผสมระบบกันได้ หากมีจุดประสงค์การใช้งานหลากหลายหรือไม่เฉพาะเจาะจง
ระบบเสียง ถือเป็นระบบที่ต้องอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมศาตร์เกี่ยวกับเสียงหรือ Audio engineering มาประยุกต์ใช้ในการสร้างระบบเพื่อตอบสนองการใช้งานด้านเสียงโดยเฉพาะ และ อาจมีการใช้งานร่วมกับระบบภาพและแสง และต้องมีการรวมระบบหรือ System integration เข้าด้วยกันเป็นระบบภาพและเสียง หรือ Audio-visualหรือที่ผู้ใช้สื่อเรียกว่า มัลติมีเดีย Multimedia และบางครั้งอาจรวมระบบควบคุมแสง หรือ Lighting control system เข้ามาด้วยโดยเรียกรวมกันว่าระบบ AVL

ระบบเสียงประกาศ

ระบบเสียงประกาศ หรือ ระบบกระจายเสียง ที่นิยมเรียกกันว่า PA System หรือ เครื่องเสียงกลางแจ้ง (ย่อมาจาก Public Address System) นั้นสำคัญอย่างไร หลายๆท่านคงรู้จักและคุ้นเคยกับระบบเสียงประกาศกันอยู่บ้าง เพราะเป็นสิ่งที่ถือได้ว่าอยู่ใกล้ตัวเรา เพราะไม่ว่าเราไปเดินที่ไหนในห้าง โรงพยาบาล โรงแรมหรือแม้แต่สถานที่สาธารณะต่างๆ เรามันจะได้ยินเสียงประกาศส่งข้อความต่างๆผ่านระบบเสียงให้เราได้ยินกัน ถามว่าไม่มีได้หรือไม่? ตอบได้เลยว่าจะมีหรือไม่มีก็ได้แต่ด้วยเหตุผลและปัจจัยต่างๆมากมายที่ทำให้เราตัดสินใจได้ว่าเราควรจะต้องติดตั้งระบบเสียงประกาศหรือไม่อันดับแรกเลยคือ ขนาดของพื้นที่ มีผลต่อการรับรู้ข่าวสาร ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดเล็กเช่นห้องทำงานภายในออฟฟิตเล็กๆที่มีห้องแค่ไม่กี่ห้องและจำนวนชั้นที่ไม่มาก เราก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบเสียงประกาศก็ได้เพราะตะโกนเอาก็ได้ยิน แต่ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีโซนของพื้นที่แยกเป็นสัดส่วนแบบนี้ต้องมีระบบเสียงประกาศแน่นอนเพราะเราไม่สามารถสื่อสารได้ได้ทั่วถึง เราเลยต้องมีตัวช่วยกระจายเสียงไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข่าวสารหรือการเตือนภัยอีกทั้งเรายังสามารถแบ่งออกเป็นโซนในการประกาศเพื่อไม่ให้เสียงไปรบกวนพื้นที่อื่นได้อีก ส่วนเราจะออกแบบการทำงานแบบไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราว่าอยากให้ระบบออกมาเป็นยังไง ประกาศข่าวสารอย่างเดียวหรือมีเพลงเปิดคลอบรรยากาศในระหว่างที่จะประกาศข้อมูลข่าวสารก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้มันจะเป็นข้อบ่งบอกถึงชนิดและจำนวนของอุปกรณ์ที่เราจะใช้ในงานนั้นๆ

อุปกรณ์พื้นฐานของระบบเสียงประกาศ

1. ไมค์โครโฟน (Microphone) 

ในระบบเสียงประกาศมีไมค์โครโฟนหลักๆอยู่ 2 แบบ คือแบบธรรมดาทั่วไปจะใช้ไมค์โครโฟนแบบตั้งโต๊ะหรือไมค์ธรรมดาทั่วไปก็ได้ และอีกแบบหนึ่งคือไมค์โครโฟนแบบที่สามารถเลือกพื้นที่สำหรับประกาศได้ เพื่อต้องการประกาศเฉพาะบางพื้นที่ทำให้ไม่ไปรบกวนพื้นที่อื่น เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานถ้าเราต้องการประกาศรวมทั้งหมดก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้ไมค์โครโฟนแบบเลือกโซนได้
ระบบประกาศเสียงตามสาย_1

2. เครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer) 

สิ่งสำคัญในการเลือกเครื่องผสมสัญญาณคือจำนวนต้นทางของแหล่งกำเนิดเสียงว่ามีเท่าไหร่เราก็สามารถเลือกช่องสัญญาณให้เหมาะสมได้ เครื่องผสมสัญญาณเสียงบางตัวมีระบบขยายในตัวก็สามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องซื้อเครื่องขยายเสียงเพิ่มแต่อย่างใด อีกทั้งมีช่องสัญญาณขาออกที่สามารถแบ่งโซนได้เลยโดยไม่ต้องเพิ่มเครื่องเลือกโซนแต่อย่างใด

3. เครื่องขยายเสียง (PA Amplifier) 

การเลือกใช้ก็เลือกให้เหมาะสมกับจำนวนวัตต์ของลำโพงที่มีอยู่ในระบบ โดยจำนวนวัตต์ของลำโพงทั้งหมดรวมกันต้องไม่มากกว่าจำนวนวัตต์ของเครื่องขยายเสียง



4. ลำโพง (Speaker) 

ในระบบเสียงประกาศนั้นมีลำโพงให้เลือกใช้เยอะแยะมากมายตามรูปแบบการติดตั้ง เช่น ลำโพงชนิดฝังฝ้า ลำโพงแบบตู้ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ลำโพงแบบฮอร์น ถ้าเรารู้ว่าพื้นที่ๆเราจะไปติดตั้งเป็นแบบไหนเราก็จะสามารถเลือกชนิดของลำโพงได้ และลำโพงที่ใช้ในระบบเสียงประกาศก็ยังเป็นลำโพงชนิดพิเศษที่สามารถกันน้ำกันฝุ่นได้ โดยมาตรฐานก็จะแตกต่างกันไปเช่น IP44, IP66 เป็นต้น


รูปแบบการต่อระบบเสียงประกาศเบื้องต้น

diagram_ระบบเสียงประกาศ

เครื่องฉายโปรเจคเตอร์

จัดทำโดย นาย โสรฬ เดชศักดา รหัสนักศึกษา 6031280065
เครื่องฉายโปรเจคเตอร์


โปรเจคเตอร์ (Projector) คืออุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์,เครื่องเล่นวีซีดี, เครื่องเล่นดีวีดีและเครื่องกำเนิดภาพอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันนี้โปรเจคเตอร์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในหน่วยงานราชการ,สถานศึกษา, สำนักงานหรือบริษัทเอกชนรวมไปถึงการใช้งานเพื่อการตอบสนองความต้องการในด้าน Home Entertainment โดยใช้เชื่อมต่อเป็น Home Theater เพื่อเพิ่มเติมอรรถรสสำหรับความบันเทิงในบ้าน เป็นเครื่องฉายภาพขนาดใหญ่ที่สามารถนำภาพหรือข้อมูลต่างๆ แสดงให้คนดูได้หลายคน ปัจจุบันมี 2 ชนิด คือแบบ LCD (Liquid Crystal Display) เหมาะที่จะใช้งานเช่น Home Entertainment หรือห้องประชุมที่มีผู้ร่วมประชุมไม่มากนัก และการ Present ด้วยภาพ มีสีที่สด สว่าง น่าชม ให้สีที่เป็นธรรมชาติมากกว่า มีความคมชัดและแม่นยำ ที่ค่า lumen เท่ากัน LCD จะสว่างกว่า DLP
แบบ DLP (Digital Light Processing) เหมาะสำหรับการใช้กับห้องที่มีพื้นที่มาก และข้อมูลที่เป็นแบบตัวเลขหรือตาราง มีค่าContrast สูง ช่องว่างระหว่างพิกเซลน้อยแต่ละพิกเซลเรียงตัวได้ชิดกันมากมีน้ำหนักเบา อายุการใช้งานยาวทำไมคนทำงานหรือสำนักงานต้องใช้เทคโนโลยีนี้เพราะโปรเจคเตอร์มีความสามารถในการขยายสิ่งที่จะแสดงเนื้อหา ตาราง รูปภาพให้ใหญ่และเห็นได้ชัดขึ้น เมื่อมีการประชุมหรือแสดงตาราง กราฟต่างๆ เวลามีการประชุมหรือPresentงาน โปรเจคเตอร์จะทำให้คนในสำนักงานให้ความสนใจ ตั้งใจและมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่สำนักงานจะนำเสนอมากขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และโปรเจคเตอร์สามารถใช้งานได้ง่ายไม่ค่อยยุ่งยากและซับซ้อนการใช้งานจะใช้เมื่อไหร่เมื่อมีการประชุม, การPresent, การสัมมนา, การระดมสมองการจัดอบรมพนักงาน, แสดงรูปภาพ กราฟหรือแผนภูมิต่างๆ

วิธีการติดตั้งและใช้งานอย่างง่ายๆ มีข้อแนะนำได้ดังนี้

1.      ติดตั้งจอภาพในที่ที่มีแสงสว่างน้อยที่สุด เพื่อให้รับภาพได้คมชัดมากขึ้น 2.      ควรหาที่วางเครื่องโปรเจคเตอร์ให้สูงจากพื้นห้องขึ้นมาพอสมควร เพื่อป้องกันการชนเครื่องและป้องกันฝุ่นละออง 3.      เตรียมสายต่างๆ ที่จะต่อเข้าเครื่องก่อน จากนั้นจึงนำเครื่องโปรเจคเตอร์วางลงบนที่วาง และหันเลนส์ไปยังจอภาพที่จะฉาย ( ไม่ควรปรับมุมให้แหงนเกิน 45 องศา) จากนั้นจึงต่อสายเข้าเครื่องและเปิดปุ่ม POWER4.      เปิดฝาครอบเลนส์แล้วรอสักครู่ ภาพจะค่อยๆ ปรากฏขึ้นบนจอภาพ 5.      ปรับตัวเครื่อง โดยกะด้วยสายตาให้ได้ระยะและองศาที่ดี หรือดูจากภาพบนจอจนได้ภาพและมุมตามที่ต้องการพร้อมทั้งปรับวงแหวนการปรับระยะ และวงแหวนปรับโฟกัสซึ่งจะอยู่ติดกับเลนส์จนชัดเจน 6.      เมื่อตรวจรายละเอียดพอคร่าวๆ แล้ว กดปุ่ม AUTO SET UP เพื่อให้เครื่องปรับภาพให้ใกล้เคียงมาตรฐานมากที่สุด ถ้าไม่มีก็ทำการปรับที่ MENU7.      การปิดเครื่อง กดปุ่ม POWER ให้โปรเจคเตอร์อยู่ในสถานะ STAND BY รอจนเครื่องเย็นจึงค่อยถอดปลั๊ก POWERการติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ในเรื่องของการต่อเชื่อมนั้น คอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะมีการส่งข้อมูลระหว่าง Notebook กับจอมอนิเตอร์หรือโปรเจคเตอร์ ฉะนั้นคุณจะต้องต่อเชื่อมสายสัญญาณ VGA ให้เสร็จ ก่อนจะเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนโปรเจคเตอร์ก็ให้ Standbyหรือเปิดเครื่องไว้ได้เลย บางเครื่องต้องเข้าไป set ใน properties ของหน้าจอก่อน ซึ่งสามารถทำได้ดังขึ้นตอนต่อไปนี้ 1.      คลิกปุ่มขวาของเมาส์บน wallpaper 2.      จะปรากฏเมนูขึ้นมาให้เลือก properties 3.      จะปรากฏเมนูอีกอันขึ้นมาแทนให้เลือก setting 4.      เลือก Advance 5.      เลือก Monitor 6.      เลือก ระหว่าง LCD. ของคอมพิวเตอร์ Notebook หรือ Monitor หรือ เลือกให้ออกทั้งสองอย่างพร้อมกัน ถ้าเลือก Monitor ภาพก็จะแสดงออกทางโปรเจคเตอร์ ( ขั้นตอนนี้อาจไม่เหมือนกันแล้วแต่ driver ของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ Notebook บางเครื่องก็อาจจะเลือกให้แสดงพร้อมกันไม่ได้ ) นอกจากนี้บางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ก็อาจตั้งความถี่ในการ refresh rate ไม่ถูกต้องทำให้ภาพที่ฉายออกทางโปรเจคเตอร์สั่น หรือภาพอาจไม่อยู่ในตำแหน่ง หรือภาพอาจจะขาดหายได้ โดยเฉพาะโปรเจคเตอร์รุ่นเก่าๆที่ยังไม่ได้แก้ปัญหานี้ ก็ควรจะตั้ง refresh rate ของคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องด้วย ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ของคุณไม่สามรถแสดงภาพออกพร้อมๆ กัน ทั้งมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์และโปรเจคเตอร์แล้วละก็ อาจพอมีทางแก้โดยใช้เครื่องกระจายสัญญาณ VGA ชนิดเข้า ออก โดยต่อเครื่องกระจายสัญญาณเข้ากับคอมพิวเตอร์ Notebook และต่อโปรเจคเตอร์เข้ากับเครื่องกระจายสัญญาณ จากนั้นให้หาจอมอนิเตอร์มาต่อเข้ากับเครื่องกระจายสัญญาณ เท่านี้ก็สามารถดูภาพจากหน้าจอมอนิเตอร์ไปพร้อมๆ กับโปรเจคเตอร์ได้แล้ว
ประโยชน์การใช้งานโปรเจคเตอร์(Projectorทำให้เกิด QCDM กับงานคือช่วยการทำงานมีประสิทธิภาพ มีการประชุมกันทำให้เกิดความสามัคคีร่วมกัน มีการร่วมแสดงความคิดเห็น ทำให้คนในองค์กรมีความเข้าใจร่วมกัน ทำให้การทำงานรวดเร็วและสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแม้ว่าโปรเจคเตอร์อาจมีราคาที่สูงแต่ก็มีความคุ้มค่า มีความสำคัญมากมายในการใช้งาน สามารถใช้งานได้ซ้ำหลายครั้ง เมื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561

จัดทำโดย นาย โสรฬ เดชศักดา รหัสนักศึกษา 6031280065

บาร์โค้ด

บาร์โค้ดคืออะไร

ระบบบาร์โค้ดหมายถึงการใช้สัญลักษณ์บาร์โค้ดบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษร และประยุกต์ต่อยอดโดยการนำตัวเลขหรือตัวอักษรเหล่านั้นบ่งชี้ไปยังสิ่งต่างๆ เช่น สินค้า (Product), วันหมดอายุ (Expiration date), รหัสเฉพาะสินค้า (Serial number), บุคคล (Person), URL Website เป็นต้น

บาร์โค้ดมีกี่ประเภท

1D Barcode (1 Dimension Barcode) 

 หมายถึงบาร์โค้ดหนึ่งมิติ ที่ใช้หลักการเข้ารหัสเลขฐานสอง (Binary codes) โดยความหนาของแท่งสีดำกับแท่งสีขาวในบาร์โค้ดจะเป็นตัวบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขที่กำกับไว้ด้านล่างของบาร์โค้ด เทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดหนึ่งมิติได้แก่ Laser และ Linear ลักษณะของการนำบาร์โค้ดหนึ่งมิติไปประยุกต์ใช้คือการนำข้อมูลตัวเลขในบาร์โค้ดบ่งชี้ไปยังข้อมูลของสินค้าชนิดนั้นๆ เช่น บาร์โค้ดรหัส 000001 ใช้แทนสินค้า A , บาร์โค้ดรหัส 000002 ใช้แทนสินค้า B เป็นต้น

2D Barcode (2 Dimension Barcode) 

 หมายถึงบาร์โค้ดสองมิติ ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานหลักการเดียวกันกับบาร์โค้ดหนึ่งมิติ บาร์โค้ดหนึ่งมิติมีลักษณะการแทนข้อมูลที่เป็นตัวเลขเท่านั้น แต่สำหรับบาร์โค้ดสองมิติจะสามารถบ่งชี้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรได้ นอกจากนั้นบาร์โค้ดสองมิติจะสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ดหนึ่งมิติ รูปแบบของบาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้โดยทั่วไปคือ QR-Code พัฒนาขึ้นโดยประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีทั้งตัวเลขและตัวอักษรรวมกันเช่น URL Website , ID Line เป็นต้น และ Data Matrix พัฒนาโดยประเทศสหรัฐอเมริกานิยมใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ ที่ต้องการบาร์โค้ดขนาดเล็กและสามารถจุข้อมูลได้มาก เทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดสองมิติได้แก่ Array Imager ที่สามารถอ่านได้ทั้งบาร์โค้ดหนึ่งมิติและบาร์โค้ดสองมิติ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 1D Barcode (1 Dimension Barcode)

บาร์โค้ดช่วยอะไรได้บ้าง

ลดขั้นตอนและประหยัดเวลาการทำงาน 

 การซื้อ-ขาย สินค้าจะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคงคลัง 

ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลังคอมพิวเตอร์ 

 ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือเท่าใด 

ยกระดับมาตรฐานสินค้า 

 การระบุแหล่งผลิตของประเทศแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพเพื่อรักษาภาพพจน์ของสินค้าและสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องสัญลักษณ์ รหัสแท่งสำหรับแสดงข้อมูลสินค้า 

สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ 

 รหัสแท่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่มีคุณภาพดีเชื่อถือได้ การมีรหัสประจำตัวของแต่ละประเทศทำให้ผู้ที่สนใจซื้อสินค้าสามารถทราบถึงแหล่งผลิตและติดต่อซื้อ-ขายกันได้สะดวกโดยตรง เป็นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก 

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร 

 ข้อมูลจากระบบรหัสแท่ง จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถตัดสินใจวางแผน และบริหารงานด้านการผลิต การจัดซื้อ และการตลาดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 
บาร์โค้ดมีความสำคัญอย่างไร_07 

สะดวก & แม่นยำ

ลักษณะการทำงาน บาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง ไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ โดยอาศัยหลักของการสะท้อนแสง ทำให้มีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
เครื่องสแกนเนอร์มีชนิดต่าง ๆ กัน ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่ออ่านบาร์โค้ดที่ได้รับการพิมพ์อย่างถูกต้อง เครื่องสแกนเนอร์จะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์กลาง เพื่อทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกครั้งที่มีการซื้อเข้าและการขายออกได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

การพิมพ์บาร์โค้ดลงบนตัวสินค้า

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ที่นิยมใช้กันในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ตัวอย่างเช่น เครื่องพิมพ์วันที่ผลิต และรหัสสินค้า ในกลุ่ม เครื่องพิมพ์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับเครื่องบรรจุซองอัตโนมัติ ทั้งแบบ Intermittent และ แบบ Continuous ให้ความละเอียดสูง 300 dpi รองรับการพิมพ์หลายบรรทัดและโลโก้หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้ตามต้องการที่สำคัญไม่มีกลิ่นรบกวน เหมาะกับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเป็นอย่างยิ่ง สามารถพิมพ์รหัสแท่งบาร์โค้ดลงบนแผ่นฟิล์มได้

เกล็ดความรู้

ในกรณีส่งออกต่างประเทศ จำเป็นจะต้องลงทะเบียนบาร์โค้ดกับ สถาบันรหัสสากล (GS1) เพื่อขอรับรหัสของบาร์โค้ดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศและบริษัทนั้นๆ ซึ่งบาร์โค้ดที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเทศไทยได้แก่ EAN-13 ซึ่งจะสามารถจุข้อมูลเลขได้ 13 หลัก โดย GS1 จะเป็นผู้กำหนดตัวเลขใน 8 หลักแรก ซึ่งแบ่ง 3 หลักแรกเป็นรหัสประเทศ ประเทศไทยนั้นจะเป็นรหัส 885 ตัวเลข 5 หลักถัดมาจะเป็นรหัสบริษัทที่ทาง GS1 กำหนดให้แต่ละบริษัทจะได้เลขรหัสไม่เหมือนกัน ตัวเลข 4 หลักต่อมาจะเป็นรหัสสินค้าที่แต่ละบริษัทสามารถเป็นคนกำหนดด้วยตัวเองได้ และหลักสุดท้ายจะเป็นเลขที่ถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อเช็คว่าเลข 12 หลักแรกนั้นถูกต้อง

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

เครื่องพิมพ์รหัสสินค้า ข้อมูลผลิตภัณฑ์ บนบรรจุภัณฑ์แบบอัติโนมัติ 

เครื่องพิมพ์รหัสสินค้า ข้อมูลผลิตภัณฑ์ บนบรรจุภัณฑ์แบบอัติโนมัติ
Sample_ตัวอย่างการพิมพ์ VJ 6210_2
THARMAL INKJET เครื่องพิมพ์วันที่และรหัสสินค้า VJ 8510 – 8610 ที่สามารถพิมพ์รหัสแท่งแบบบาร์โค้ดได้บนวัสดุประเภทผิวมัน
เครื่องพิมพ์วันที่ เครื่องพิมพ์กล่องที่มีความคมชัด และความละเอียดสูง