วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2561

เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์

เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์

จัดทำโดย นาย โสรฬ เดชศักดา เลขที่ 14


 


(1) ฝาครอบเอกสาร
เปิดฝาครอบนี้เมื่อวางเอกสารบนแผ่นกระจก
(2) ที่รองกระดาษ
ให้ดึงที่รองกระดาษออกมาก่อนที่จะใส่กระดาษ
(3) ช่องปรับขนาดกระดาษ
เมื่อทำการบรรจุกระดาษ ให้เลื่อนส่วนนี้จนติดขอบกระดาษด้านซ้าย
(4) ฝาครอบตัวฟีดกระดาษ
เปิดฝาครอบเพื่อบรรจุกระดาษในถาดใส่กระดาษด้านหลัง
(5) ถาดหลัง
สามารถบรรจุกระดาษได้หนึ่งแผ่นหรือมากกว่านั้นในหนึ่งครั้ง เครื่องจะทำการฟีดกระดาษอัตโนมัติโดยจะทำการฟีดกระดาษครั้งละหนึ่งแผ่น
(6) ตัวนำกระดาษบริเวณฝาครอบเครื่องพิมพ์ (Cover Guide)
ให้จัดแนวด้านขวาของกระดาษให้เข้ากับตัวนำกระดาษนี้
(7) ฝาครอบช่องเสียบการ์ดความจำ
เปิดฝาเพื่อเสียบการ์ดความจำ
(8) พอร์ต IrDA
รับข้อมูลภาพที่ส่งมาจากโทรศัพท์มือถือผ่านทางการเชื่อมต่อแบบอินฟาเรด
(9) พอร์ตสำหรับการพิมพ์งานโดยตรง
ใช้เมื่อทำการพิมพ์งานโดยตรงจากกล้องดิจิตอลหรือกล้องวิดีโอดิจิตอลที่สนับสนุนการทำงานของเทคโนโลยี PictBridge
พอร์ตสำหรับใส่อุปกรณ์การเชื่อมต่อ Bluetooth unit BU-20* เพื่อสั่งพิมพ์งานแบบไร้สายผ่านทางอุปกรณ์การเชื่อมต่อบลูทูธ
* อุปกรณ์ Bluetooth unit นั้นมีจำหน่ายในบางประเทศเนื่องจากเหตุผลทางกฏหมายระหว่างประเทศ สำหรับข้อมูลเพิ่ทเติม ให้ติดต่อไปยังศูนย์บริการแคนนอนในประเทศของท่าน
(10) ถาดกระดาษขาออก
รองรับกระดาษที่เครื่องทำการพิมพ์ออกมา ให้
ปิดถาดนี้เมื่อท่านไม่ใช้งาน
(11) จอ LCD (Liquid Crystal Display)
แสดงข้อความ, รายการตัวเลือก และสถานะในการทำงาน
(12) ส่วนต่อขยายของถาดกระดาษขาออก
รองรับกระดาษที่เครื่องพิมพ์ทำการพิมพ์ออกมา
(13) แผงควบคุมการทำงาน
ใช้เปลี่ยนการตั้งค่าและกำหนดการทำงานของเครื่อง




(14) แผ่นกระจก
ใช้วางเอกสารต้นฉบับเพื่อดำเนินการสแกนหรือการพิมพ์
(15) คาสเซ็ท
บรรจุกระดาษสำหรับทำการพิมพ์เข้าไปในเครื่องพิมพ์

มุมมองด้านหลังและด้านล่างเครื่องพิมพ์



(16) พอร์ตการเชื่อมต่อ USB
ใช้เชื่อมต่อเครื่องพิมพ์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิ้ล USB
สาระสำคัญ
ในขณะที่เครื่องพิมพ์กำลังทำการพิมพ์งานหรือสแกนภาพส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในโหมดการทำงานแบบ sleep หรือ standby ไม่ควรยกเลิกการเชื่อมต่อสายเคเบิ้ล USB

(17) ฝาครอบเครื่องพิมพ์ด้านหลัง
ให้เปิดส่วนนี้ออกเพื่อนำกระดาษที่ติดอยู่ภายในเครื่องพิมพ์ออกมา
(18) ขั้วต่อสายไฟ
ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายไฟ




(19) ชุดลำเลียงกระดาษในการพิมพ์แบบสองหน้า
เปิดเมื่อเกระดาษเข้าไปติดหลังจากที่ดึงตัวคาสเซ็ทออกมา

ภายในตัวเครื่องพิมพ์



(20) ไฟบอกสถานะหมึกพิมพ์
ไฟจะสว่างขึ้นหรือกระพริบเป็นสีแดงเพื่อบ่งบอกสถานะของตลับหมึก
(21) ไกล็อคหัวพิมพ์
ใช้ยึดหัวพิมพ์ให้อยู่กับชุดรองรับหัวพิมพ์
สาระสำคัญ
ไม่ควรยกไกล็อคหัวพิมพ์นี้ขึ้นนอกเหนือจากจะทำการเปลี่ยนหัวพิมพ์

(22) ชุดรองรับหัวพิมพ์
ให้ทำการติดตั้งหัวพิมพ์ในตำแหน่งนี้
(23) ชุดสแกน (ฝาครอบเครื่องพิมพ์)
อุปกรณ์ชุดนี้ใช้ในการสแกนเอกสาร โดยเปิดชุดสแกนขึ้นเมื่อต้องการเปลี่ยนตลับหมึกหรือนำกระดาษที่ติดอยู่ภายในตัวเครื่องพิมพ์ออกมา
(24) ฝาครอบภายในเครื่องพิมพ์
ให้ปิดเมื่อทำการพิมพ์งาน
(25) ช่องใส่การ์ดความจำ
ใส่การ์ดความจำเข้าไว้ในตำแหน่งนี้
(26) ไฟแสดงสถานะการทำงาน
ไฟนี้จะสว่างขึ้นเมื่อใส่การ์ดความจำเข้าไปในช่องใส่การ์ด
หมายเหตุ
สำหรับรายละเอียดเรื่องวิธีการติดตั้งหัวพิมพ์และตลับหมึก โปรดดูในเอกสารการติดตั้งของท่าน

แผงควบคุมการทำงาน



(1) ปุ่ม ON/OFF
ใช้เปิดและปิดการทำงานเครื่องพิมพ์ ก่อนเปิดเครื่องให้ตรวจสอบดูว่าได้ปิดฝาครอบเอกสารเรียบร้อยแล้ว
(2) ปุ่มที่ใช้บังคับทิศทางรายการบนจอ LCD
โปรดดูข้อมูลในส่วน "วิธีการใช้ปุ่มบังคับทิศทางรายการบนจอ LCD"
(3) ปุ่ม Black (ด้านบน) / ปุ่ม Color (ด้านล่าง)
กดปุ่ม Black เพื่อทำสำเนาหรือสแกนภาพแบบขาว-ดำ กดปุ่ม Color เพื่อทำสำเนาหรือสแกนภาพแบบสี
(4) ปุ่ม Stop/Reset
ใช้ยกเลิกการทำงานต่างๆของตัวเครื่องพิมพ์
(5) ไฟ Alarm
ไฟจะสว่างหรือกระพริบเป็นสีส้ม เมื่อมีปัญหาการทำงานผิดพลาดเกิดขึ้น หรือเมื่อกระดาษหรือหมึกหมด
(6) ปุ่ม + / -
ใช้ในการระบุจำนวนสำเนาที่ต้องการ
(7) ปุ่ม OK
ใช้ในการยืนยันตัวเลือกที่ท่านเลือกในเมนูหรือรายการการตั้งค่าต่างๆ ใช้ในการเรียกคืนสถานะการทำงานให้กลับมาเป็นปกติหลังจากที่ได้ทำการแก้ไขปัญหาในการพิมพ์ หรือเมื่อแก้ไขปัญหากระดาษติดเครื่องเรียบร้อยแล้ว
(8) ไฟ Power
ไฟจะสว่างหรือกระพริบเป็นสีเขียวเพื่อบ่งบอกสถานะการทำงานของเครื่องพิมพ์
(9) ปุ่ม Paper Feed Switch
ใช้ในการสับเปลี่ยนแหล่งจ่ายกระดาษของเครื่องพิมพ์
(10) ไฟถาดหลัง (ด้านบน) / ไฟคาสเซ็ท (ด้านล่าง)
ไฟจะสว่างขึ้นเมื่อเลือกใช้งานตำแหน่งดังกล่าวเป็นแหล่งจ่ายกระดาษ
 

เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer)
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลงกระดาษที่ใช้ พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะ สมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมี 2 แบบ
1.             เครื่องพิมพ์แบบ 9 เข็ม
2.             เครื่องพิมพ์แบบ 24 เข็ม



 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet printers)
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้ อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์




เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer)
 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่น หมึกมาก



พล็อตเตอร์ (Plotter)
พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียนแบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆ



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น