ระบบคอมพิวเตอร์
นาย โสรฬ เดชศักดา เลขที่14 รหัสนักศึกษา 6031280065
ความหมายของคอมพิวเตอร์ ( What ' s computer) | |||||||
คำว่า COMPUTER ซึ่งหมายถึง การนับหรือการคำนวณ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เรียกกันนี้ หมายถึง ELECTRONICS COMPUTER เป็นเครื่องจักรทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้ สามารถทำการรับข้อมูลที่ป้อนเข้าไปพร้อมด้วยคำสั่ง แล้วดำเนินการจัดทำผลลัพธ์ที่ต้องการออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง ตามความหมายโดยทั่วไปแล้ว "คอมพิวเตอร์" คือ เครื่องจักรกลที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ แต่เราอาจแบ่งความหมายของคอมพิวเตอร์ออกมาได้เป็น 2 ลักษณะ คือ |
|||||||
1. ความหมายตามลักษณะทางกายภาพ ความหมายตามลักษณะทางกายภาพ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ์ที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ ซึ่งการทำงานในปัจจุบันจะต้องอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือหน่วยความจำนั่นเอง มีหน้าที่ใช้ในการเก็บคำสั่ง (Program) สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกเตรียมไว้ |
|||||||
2. ความหมายในพจนานุกรม ความหมายในพจนานุกรม หมายถึง เครื่องคำนวรหรือผู้คำนวณ(คณิตกรณ์) มีหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบ หรือประมวลผลตามคำสั่งที่มนุษย์จัดเตรียมไว้ในรูปของโปรแกรมหรือชุดคำสั่งต่างๆ ระบบคอมพิวเตอร์ ( Computer System) ในการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแล้วให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามความต้องการของผู้ใช้งานนั้น ย่อมต้องมีองค์ประกอบที่เรียกว่า ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภททำงานร่วมกัน โดยมีคำสั่งหรือที่เรียกว่าโปรแกรมเป็นตัวสั่งการให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานได้ตามที่มนุษย์ต้องการ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงระบบคอมพิวเตอร์สิ่งสำคัญของระบบจึงได้แก่ ฮาร์ดแวร์(hardware) ซอฟต์แวร์(software) และบุคลากร(Peopleware) นั่นคือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
|
ซอฟแวร์
(Software) คือ คำสั่ง หรือชุดคำสั่ง
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
และเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์)
สามารถสื่อสารกันได้
ทั้งนี้อาจแบ่งซอฟต์แวร์ตามหน้าที่ของการทำงานได้ดังนี้
1. โปรแกรมจัดระบบ
(System Software) คือ
ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง
ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
2. โปรแกรม์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ - โปรแกรมจัดระบบฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access Oracle - โปรแกรมพิมพ์เอกสาร เช่น Microsoft Word - โปรแกรมสร้าง Presentation เช่น Microsoft Power Point - โปรแกรมช่วยสอน (CAI - Computer Aids Intrruction ) - โปรแกรมคำนวณ เช่น Microsoft Excel |
3. โปรแกรมอรรถประโยชน์
(Utility Software)
เป็นโปรแกรมที่ใช้เครื่องมืในการช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความคล่องตัวขึ้น
และสามารถแก้ปัญหาอันเกิดจากการใช้งานได้ เช่น
- โปรแกรมกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เช่น Mcafee, Scan, Norton Anitivirus
- โปรแกรมที่ใช้บีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถคัดลอกไปใช้ได้สะดวก เช่น Winzip เป็นต้น 4. โปรแกรมแปลงภาษา (Language Translater) ใช้ในการสร้างโปรแกรมประยุกต์เพื่อนำไปใช้งานด้านต่างๆ โดยการเขียนชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และใช้โปรแกรมแปลงภาษาดังกล่าวทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้น (High Level Language) ให้ไปเป็นคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้ (Low Level Language)
โปรแกรมแปลงภาษาโดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
4.1 คอมไพเลอร์ (Compiler) โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นทั้งหมด (ตั้งแต่คำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้าย) ในคราวเดียวกัน เช่น ภาษา Pascal, C, C++
4.2 อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่ง แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมา ทำให้ง่ายต่อการแก้ไขคำสั่งที่ผิดพลาดได้ทันที เช่น ภาษา Basic
- โปรแกรมกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เช่น Mcafee, Scan, Norton Anitivirus
- โปรแกรมที่ใช้บีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถคัดลอกไปใช้ได้สะดวก เช่น Winzip เป็นต้น 4. โปรแกรมแปลงภาษา (Language Translater) ใช้ในการสร้างโปรแกรมประยุกต์เพื่อนำไปใช้งานด้านต่างๆ โดยการเขียนชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และใช้โปรแกรมแปลงภาษาดังกล่าวทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้น (High Level Language) ให้ไปเป็นคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้ (Low Level Language)
โปรแกรมแปลงภาษาโดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
4.1 คอมไพเลอร์ (Compiler) โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นทั้งหมด (ตั้งแต่คำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้าย) ในคราวเดียวกัน เช่น ภาษา Pascal, C, C++
4.2 อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่ง แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมา ทำให้ง่ายต่อการแก้ไขคำสั่งที่ผิดพลาดได้ทันที เช่น ภาษา Basic
พีเพิลแวร์
(People Ware) หรือผู้ใช้ระบบ
ในระบบคอมพิวเตอร์ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งที่จะก่อใ้เกิดผลลัพธ์จากการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
ด้วยเหตุที่ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างชุดคำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องนั่นเอง
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับต่างๆ ดังนี้
1. ผู้บริหาร (Manager)
ทำหน้าที่กำกับดูแลวางแนวนโยบายในส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เพื่อให้องค์กรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. นักวิเคราะห์และนักออกแบบระบบ (System Analysis & Deign) ทำหน้าที่วางแผนและออกแบบระบบงาน เพื่อนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน
3. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ทำหน้าที่เขียน/สร้างชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
4. ผู้ปฏิบัติการ (Operator) ทำหน้าที่ควบคุมเครื่อง เตรียมข้อมูล และป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
2. นักวิเคราะห์และนักออกแบบระบบ (System Analysis & Deign) ทำหน้าที่วางแผนและออกแบบระบบงาน เพื่อนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน
3. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ทำหน้าที่เขียน/สร้างชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
4. ผู้ปฏิบัติการ (Operator) ทำหน้าที่ควบคุมเครื่อง เตรียมข้อมูล และป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นคือ สามารถคิดคำนวณตัวเลขจำนวนมากได้รวดเร็วและแม่นยำ การคิดคำนวณและจัดการข้อมูลทำได้รวดเร็ว นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังสามารถเก็บข้อมูลได้มาก เมื่อจัดเก็บแล้วสามารถเรียกค้น หรือคัดแยกได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยที่การดำเนินการต่างๆ จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์กำหนดไว้ คอมพิวเตอร์ทำงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ตามหลักการที่จอห์น วอน นอยแมน เสนอและใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำสำหรับเก็บซอฟต์แวร์และข้อมูล การทำงานของคอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ เรียกรวมว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware)
การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ
. 1. หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วนำมาประมวลผล หรือเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง
2. หน่วยความจำหลักเป็นหน่วยสำหรับเก็บข้อมูลและซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางสามารถอ่านเขียนจากหน่วยความจำหลักรวดเร็วมาก ทำให้หน่วยประมวลผลกลางนำมาตีความและกระทำตามได้อย่างรวดเร็ว
3. หน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่ในการคิดคำนวณหรือประมวลผลข้อมูล โดยทำตามโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก
4. หน่วยส่งออก เป็นหน่วยที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วมาแสดงผล หรือเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง
5. หน่วยความจำรอง มีไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ที่มีจำนวนมาก และต้องการนำมาใช้อีกในภายหลัง หากจะใช้งานก็มีการโอนถ่ายจากหน่วยความจำรองมายังหน่วยความจำหลัก
. 1. หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วนำมาประมวลผล หรือเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง
2. หน่วยความจำหลักเป็นหน่วยสำหรับเก็บข้อมูลและซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางสามารถอ่านเขียนจากหน่วยความจำหลักรวดเร็วมาก ทำให้หน่วยประมวลผลกลางนำมาตีความและกระทำตามได้อย่างรวดเร็ว
3. หน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่ในการคิดคำนวณหรือประมวลผลข้อมูล โดยทำตามโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก
4. หน่วยส่งออก เป็นหน่วยที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วมาแสดงผล หรือเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง
5. หน่วยความจำรอง มีไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ที่มีจำนวนมาก และต้องการนำมาใช้อีกในภายหลัง หากจะใช้งานก็มีการโอนถ่ายจากหน่วยความจำรองมายังหน่วยความจำหลัก
ความหมายของระบบปฏิบัติการ (Operating System) หรือโปรแกรมจัดระบบ
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) หมายถึง
โปรแกรม ที่ทำหน้าที่ในการจัดการระบบ เพื่อติดต่อระหว่าง
ฮาร์ดแวร์กับกับซอฟต์แวร์ ประเภทต่าง ๆ ให้สะดวกมากขึ้น
เปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง คอยจัดการระบบคอมพิวเตอร์
ระหว่างโปรแกรมกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ สอบ และค้นหา ไดรเวอร์ต่าง ๆ ได้เอง
มีระบบการทำงานที่เรียกว่า Plug and Play และมีหน้าจอที่สวยงาม
รองรับการใช้งาน ทางด้านอินเตอร์เน็ต และระบบมัลติมีเดีย
ได้เป็นอย่างดีให้ทดลองเปิดเครื่อง จะเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows
โดยอัตโนมัติ
ระบบปฏิบัติการและการใช้งาน
Desktop (เดสก์ท็อป) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ Windows'98 ก็จะเปิดขึ้นมาให้เราโดยระบบปฏิบัติการจะเตรียมสิ่งต่าง ๆ เพื่อใช้งาน เมื่อทุกอย่างเสร็จแล้วก็จะมีหน้าจอปรากฏให้เห็น เปรียบเสมือนกับบนตะทำงานของเราที่มีอุปกรณ์การทำงานต่าง ๆ อยู่บนโต๊ะและพร้อมที่จะใช้งานได้ |
ส่วนประกอบของเดสก์ท็อป |
1. ไอคอน (Icon) คือ สัญลักษณ์รูปภาพที่มีคุณสมบัติในการเรียกใช้งานต่าง ๆ เช่น เรียกใช้โปรแกรม เรียกดูข้อมูล เป็นต้น |
2. ทาสก์บาร์ (taskbar) คือ
แถบแนวนอนที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้าจอ มีหน้าที่แสดงสถานะการใช้งานต่าง ๆ
รวมไปถึงมีปุ่มเครื่องมือที่สามารถเรียกใช้งานบางอย่างได้
ปุ่มเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้น เช่น 2.1 ปุ่มควบคุ่มเสียง (Volume Control) ใช้สำหรับปรับระดับความดังของเสียง ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีระบบมัลติมีเดีย หรือมีลำโพงต่อใช้งานรวมอยู่ด้วย 2.2 แถบเครื่องมือ Quick Lunch เป็นแถบเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงโปรแกรมอินเตอร์เน็ตได้ง่ายขึ้นจากเดสก์ท็อป 2.3 นาฬิกาเป็นตัวบอกเวลาปัจจุบันของเครื่อง 2.4 ปุ่มสตาร์ต (Start) ใช้เมื่อเริ่มต้นทำงาน กล่าวคือ ที่ปุ่มสตาร์ตจะมีคำสั่งย่อย ๆ ต่าง ๆ ที่จะสามารถเรียกใช้งานโปรแกรม รวมไปถึงการใช้คำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องนั้น ๆ ด้วย |
โปรแกรมประยุกต์
โปรแกรมประยุกต์ คือ โปรแกรมที่มีความสามารถจัดการกับงานเฉพาะด้านโดยตัวโปรแกรมจะเหมาะสมและใช้งานได้ดีกับงานเฉพาะนั้น ๆ เท่านั้น โปรแกรมประยุกต์เหล่านนั้น เช่น โปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด โปรแกมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล โปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ โปรแกรมประเภทเกมส์ต่าง ๆ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น