วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

Power Supply

จัดทำโดย นาย โสรฬ เดชศักดา รหัสนักศึกษา 6031280065

Power Supply

Power Supply

คือ พาวเวอร์ซัพพลาย หรือที่เรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า ตัวจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์พาวเวอร์ซัพพลายของคอมพิวเตอร์ โดยจะติดไว้ที่ด้านหลังมุมบนของ CPU เคส มีลักษณะการทำงาน คือ ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือ แบบ AT และแบบ ATX เรามาดูกันค่ะ ว่าสองอย่างนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 
-AT นั้นจะเป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันเมื่อประมาณ พ.ศ. 2539 โดยจะมีปุ่มเปิด – ปิดการทำงาน เป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆว่าเป็น AT หรือไม่ให้สังเกตุที่สวิตช์ค่ะเพราะ AT จะมีสวิตซ์ เปิด-ปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาให้ด้วย) 
-ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนามาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด – เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่องทำให้ลดอัตราการเสียหายของอุปกรณ์ลงโดยมีรุ่นต่างๆแยกย่อยออกมา ดังนี้ 
-2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX 
-2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector) 
-2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น

การคำนวนวัตต์

formula
จากสมการข้างต้น เรามาสมมติการใช้ Computer ของเรากันดูนะครับ โดยจะสมมติว่า เราเล่นเกมกับคอมฯ 24 ชั่วโมงต่อวันตลอดทั้งเดือน 30 วัน โดยคอมฯเราจะใช้ไฟที่ 1000W MAX
ครื่องที่ 1. PSU 1000W 80+ ธรรมดา
เครื่องแรกใช้ PSU 1000W 80+ ธรรมดา ซึ่ง PSU จะมีประสิทธิภาพที่โหลด 100% (เพราะคอมฯเรากินไฟ 1000W พอดี) เท่ากับ 0.81 (81%) ซึ่งหมายความว่าไฟด้านขาเข้า (AC) จะเท่ากับ 1000/0.81 = 1234.57 Watt ดังนั้น
จำนวน Unit การใช้ไฟฟ้า = [1234.57×1(คอมหนึ่งเครื่อง)] / 1000 = 1.23457 unit x 24 = 29.634 unit/วัน
ดังนั้นถ้าเล่นต่อเนื่องทั้งเดือน 30 วันก็จะ = 29.634 x 30 = 889.02 unit/เดือน
สมมติค่าไฟ Unit ละ 5 บาท ทั้งหมดเราต้องจ่ายค่าไฟให้กับคอมฯ = 889.02 x 5 = 4445.1 บาท
เครื่องที่ 2. PSU 1000W 80+ Platimium
เครื่องที่สองใช้ PSU 1000W 80+ Platinium ซึ่ง PSU จะมีประสิทธิภาพที่โหลด 100% (เพราะคอมฯเรากินไฟ 1000W พอดี) เท่ากับ 0.91 (91%) ซึ่งหมายความว่าไฟด้านขาเข้า (AC) จะเท่ากับ 1000/0.91 = 1098.90 Watt (เห็นความแตกต่างชัดเจนไหมครับ) ดังนั้น
จำนวน Unit การใช้ไฟฟ้า = [1098.90×1(คอมหนึ่งเครื่อง)] / 1000 = 1.0989 unit x 24 = 26.3736 unit/วัน
ดังนั้นถ้าเล่นต่อเนื่องทั้งเดือน 30 วันก็จะ = 26.3736 x 30 = 791.208 unit/เดือน
สมมติค่าไฟ Unit ละ 5 บาท ทั้งหมดเราต้องจ่ายค่าไฟให้กับคอมฯ = 791.208 x 5 = 3956.04 บาท

การติดตั้งเเละทดสอบPower Supply

1.จัดเตียมตัวเมนบอร์ด
2.จัดวางเมนบอร์ดบนวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า
3.เลือกตำแหน่งของตัวสวิทช์บริเวณด้านหลังPower Supply
4.ถอดสายไฟACออกจากตัวPower Supply
5.ถอดสายไฟทั้งหมดออกจากตัวอุปกรณ์
6.ทำการเสียบขั้วต่อสายไฟ20หรือ24พินสู่ขัวต่อ20หรือ24พินบนตัวเบนบอร์ดเเละทำการเสียบขั่วต่อสายไฟ4หรือ8พินลงบนตัวเมนบอร์ด


7.เสียบสายไฟACกลับเข้าสู่Power Supply
8.เปิดPower Supplyโดยการปรับตำเเหน่งของสวิทช์I/Oให้อยู่ในตำเเหน่งI
9.ใช้อุปกรณ์เเตะขัวต่อPower-Onของเมนบอร์ดเพื่อทำการเปิด

10.หากพบว่าพัดลมของPower Supplyหมุนเเสดงว่ามันยังคงทำงานได้
หัวต่อPower Supply
1. หัวต่อ ATX ใช้สำหรับจ่ายแรงดันไฟฟ้าขนาดต่างๆ ให้กับ Mainboard แบบ ATX
โดยหัวต่อจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวน 24 ขา (2 แถว แถวละ 12 ขา) ยกเว้น Mainboard รุ่นเก่าจะใช้หัวต่อ ATX แบบ 20 ขา
หัวต่อPower Supply

หัวต่อแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply)

 

จะมีรูปแบบแหล่งจ่ายไฟอยู่ทั้งหมด 2 แบบ คือหัวแบบ ATX ซึ่งเป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ด(Mainboard)ทุกรุ่นนั้นต้องมี เป็นชุดจ่ายไฟหลักสำหรับเมนบอร์ด(Mainboard) เมื่อก่อนหัวต่อ ATX จะเป็นแบบ 20 ช่อง(2 แถว แถวละ 10 ช่อง) ปัจจุบันจะเป็น 24 ช่อง(2 แถว แถวละ 12 ช่อง)โดยเพิ่มตำแหน่งของการจ่ายไฟให้มากขึ้น
หัวต่อแบบที่ 2 เรียกว่า ATX 12V หัวต่อชนิดนี้จะเพิ่มการจ่ายแรงดันไฟฟ้า 12 โวต์ขึ้นมาซึ่งเมนบอร์ด(Mainboard)ทุกรุ่นในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้หัวต่อชนิดนี้เพิ่มขึ้นมาจากหัวต่อเดิม และแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ในปัจจุบันก็ทำหัวต่อชนิดนี้ไว้ให้อยู่แล้ว


Hard Disk


แบบSSD

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ssd
SSD คืออะไร
SSD หรือ  Solid state drive คืออุปกรณ์อิเล็กทรนิกส์ที่ทำหน้าที่เหมือนกับฮาร์ดดิกส์เพียงแต่หลักการทำงานนั้นแตกต่างจากฮาร์ดดิกส์รุ่นเก่า ซึ่งฮาร์ดดิกส์ SSD ถือได้ว่าเป็นฮาร์ดดิกส์รุ่นใหม่ที่กำลังมาแรงที่สุด โดยเราสามารถแบ่งฮาร์ดดิกส์ SSD ได้ 2 แบบด้วยกันคือ
1.
NOR Flash จะมีการเรียงหน่วยความจำแบบขนานเพื่อให้เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระและรวดเร็ว เสียอย่างเดียวมีความจุต่ำและราคาแพงมาก
2.
NAND Flash สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบที่ละบล็อค แต่มีความจุสูงกว่าแบบแรก ซึ่งแบบนี้จะมีโครงสร้างและลักษณะการทำงานเหมือนกับ Flash Driver ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นเองโดยสามารถแบ่งออกได้อีก 2 แบบด้วยกัน คือ Single Level Cell(SLC) และ Multi-Level Cell (MLC)
ส่วนประกอบสำคัญของฮาร์ดดิกส์แบบ SSD นี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ ชิปหน่วยความจำ และ ชิปคอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมการทำงาน จากส่วนประกอบข้างต้นทำให้ฮาร์ดดิกส์แบบ SSD มีความสามารถในการอ่านข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น และไม่มีเรื่องเสียงและความร้อนมากวนใจผู้ใช้งานเลย
SSD แตกต่างจากฮาร์ดดิสก์ทั่วไปอย่างไร
ความแตกต่างของฮาร์ดดิกส์แบบ SSD กับฮาร์ดดิกส์แบบ hard disk drive ที่เป็นฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุนนั้นจะมีอยู่หลายอย่างซึ่งก็มีทั้งข้อดีแล้วข้อเสียด้วยกัน
ข้อดีของฮาร์ดดิกส์แบบ SSD
1. เวลาในการเตรียมพร้อมในการใช้งานและเวลาเรียกไฟล์จะมีความเร็วมากเพียงไม่กี่มิลลิวินาที เมื่อเทียบกับการทำงานของฮาร์ดดิกส์รุ่นจานหมุนที่มีการทำงานและเข้าถึงข้อมูลต้องใช้เวลาหลายวินาที
2. เรื่องเสียงรบกวนไม่มีเหมือนกับฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุน
3. ทนต่อสภาพอากาศและแรงกระแทกมากกว่าฮาร์ดดิกส์จานหมุน
4. น้ำหนักเบากว่าแบบฮาร์ดดิกส์จานหมุน
5. เรื่องของอุณหภูมิความร้อนไม่มีปัญหาสำหรับฮาร์ดดิกส์ SSD
6. ฮาร์ดดิกส์แบบ SSD ไม่มีผลต่อสนามแม่เหล็ก
7. มีอายุการใช้งานที่ทนทานกว่า
ข้อเสียของฮาร์ดดิกส์แบบ SSD
1. มีราคาที่แพงกว่าฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุน
2. มีความจุน้อย โดยเปรียบเทียบกันแล้วฮาร์ดดิกส์แบบ SSD จะต้องจ่ายเงิน 27 บาทต่อจิกะไบต์ ส่วนฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุน จะต้องจ่ายเพียง 2.5 บาทต่อจิกะไบต์สำหรับฮาร์ดดิสก์ 3.5และประมาณ 4 บาทต่อจิกะไบต์สำหรับฮาร์ดดิสก์ 2.5
ประโยชน์ของ SSD มีอะไรบ้าง
ประโยชน์ของฮาร์ดดิกส์ SSD มีอยู่หลายอย่าง
1. มีน้ำหนักเบาและขนาดเล็กและมีความทนทาน ทำให้สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกสบาย
2. เมื่อใช้งานฮาร์ดดิกส์ SSD จะมีสะดวกในการทำงานเพราะสามารถที่จะโอนถ่ายไฟล์ต่างๆได้เร็วทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน


แบบHDD



ขนาดเเละความจุ
  ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20  GB ถึง 3 TB
-ขนาด 8 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร × 117.5 มิลลิเมตร × 362 มิลลิเมตร)
-ขนาด 5.25 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร × 41.4 มิลลิเมตร × 203 มิลลิเมตร)
-ขนาด 3.5 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร × 25.4 มิลลิเมตร × 146 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์ (Desktop) หรือเซิฟเวอร์(Server) มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 10,000, 7,200 หรือ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์
-ขนาด 2.5 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร × 9.5–15 มิลลิเมตร × 100 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา 
 โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 จิกะไบต์ ถึง 1 เทระไบต์
-ขนาด 1.8 นิ้ว (55 มิลลิเมตร × 8 มิลลิเมตร × 71 มิลลิเมตร)
-ขนาด 1 นิ้ว (43 มิลลิเมตร × 5 มิลลิเมตร × 36.4 มิลลิเมตร)
   ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่าง ๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี เรด รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SANเป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล
ประสิทธิภาพ
ผู้ใช้ส่วนใหญ่เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์โดยพิจารณาที่ความจุเป็นหลัก ไม่ค่อยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการทำงานมากนัก  ทั้งๆที่ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์มีผลต่อสมรรถนะการทำงานโดยรวมของ คอมพิวเตอร์ไม่น้อยเลย  อย่าง ไรก็ดี สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นก็คือ การที่บางคนมีความเข้าใจในรายละเอียดทางเทคนิค หรือที่เรียกว่าสเปค (specification) ของฮาร์ดดิสก์เพียงผิวเผิน  แต่กลับไปยึดติดและให้ความสำคัญกับสเปคต่างๆอย่างไม่สมเหตุสมผล ใน คอมพิวเตอร์ ดังที่จะพบว่าทุกวันนี้เมื่อพูดถึง การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์แล้ว ผู้ซื้อจำนวนมากให้ความสำคัญกั บตัวเลขที่บอกอัตราการส่งผ่านข้อมูลภายนอก (external transfer rate)  มากเท่าๆกับความเร็วรอบ (spindle speed) ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง  เราจะมาดูกันครับว่า สเปคต่างๆที่ผู้ผลิตระบุไว้ในดาต้าชีท (data sheet) หรือสเปค ชีท (spec sheet) นั้นเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์อย่างไร  และเราควรให้ความสำคัญกับอะไรมากน้อยแค่ไหน โดยจะขอแยกออกเป็น 2 กลุ่มคือ สเปคที่เกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพในการหาตำแหน่ง และสเปคที่เกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพในการส่งผ่านข้อมูล 
การเก็บข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลาย ๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น

Monitor


เป็นอุปกรณ์แสดงผลแบบชั่วคราวที่แสดงข้อมูลและสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ มีลักษณะเหมือนโทรทัศน์ โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีของจอภาพอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) ที่ใช้เทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอน ทำให้เกิดภาพเหมือนจอโทรทัศน์ แล้วพัฒนาเป็น จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ที่ใช้เทคโนโลยีเหมือนกับหน้าปัดนาฬิกาในระบบตัวเลขดิจิทัล และพัฒนาเป็น จอแอลอีดี (LED : Light Emitting Diode) ใช้หลักการทำงานของการผสมสีของ LED หลัก 3 สี ได้แก่ สีแดง (Red), สีเขียว(Green) และสีน้ำเงิน (Blue) เรียกว่า RGB นอกจากนั้นยังมี จอพลาสมา (plasma) การทำงานของจอภาพพลาสมา จะมีการเรืองแสงขึ้นเองเหมือนการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ขนาดของจอภาพวัดตามเส้นทแยงมุม โดยมีหลายขนาด เช่น 15 นิ้ว 17 นิ้ว 21 นิ้ว เป็นต้น

Keyboard

          คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก
         
ประเภทของ Keyboard ดูได้จากจำนวนปุ่ม และรูปแบบการใช้งาน Key board ที่มีอยู่ปัจจุบันจะมีอยู่ 5 แบบ
1. Desktop Keyboard
         
ซึ่ง Keyboard มาตรฐาน จะเป็นชนิด 101 คีย์ 
2. Desktop Keyboard with hot keys
          เป็น Keyboard ที่มีจำนวนคีย์มากกว่า 101 คีย์ ขึ้นไปแล้วแต่วัตถุประสงค์ใช้งาน ซึ่งจะมีปุ่มพิเศษ สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นไป
3. Wireless Keyboard
          Keyboard
ไร้สายเป็น Keyboard ที่ทำงานโดยไม่ต้องต่อสายเข้ากับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่จะมีอุปกรณ์ ที่รับสัญญาณจากตัว Keyboard อีกทีหนึ่ง การทำงานจะใช้ความถี่วิทยุในการสื่อสาร ซึ่งความถี่ที่ใช้จะอยู่ที่ 27 MHz อุปกรณ์ชนิด นี้มักจะมาคู่กับอุปกรณ์ Mouse ด้วย
4. Security Keyboard
         
รูปร่างและรูปแบบการทำงานจะเหมือนกับ Keyboard แบบ Desktop แต่จะมีช่องสำหรับเสียบ Smart Card เพื่อป้องกันการใช้งานจากผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ Keyboard ชนิดนี้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการ ปลอดภัยสูง หรือใช้ควบคุมเครื่อง Server ที่ยอมให้เฉพาะ Admin เท่านั้นเป็นคนเปลี่ยนแปลงข้อมูล
5. Notebook Keyboard
         
เป็น Keyboard ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดบางเบา ขนาดความกว้าง และยาวจะขึ้นอยู่กับเครื่อง Notebook ที่ใช้ปุ่มบนแป้นพิมพ์จะอยู่ติดกันและบางมาก คีย์พิเศษต่างจะถูกลด และเพิ่มเฉพาะปุ่มที่จำ เป็นในการ Present งาน หรือ การพักเครื่องเพื่อประหยัดพลังงาน

Mouse

ชินฮยองจิน เป็นผู้ป่วยพิการตั้งแต่กำเนิด ที่ไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อและออกเคลื่อนไหวตัวได้ ไม่สามารถใช้มือหรือขาในการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้เลย แต่เทคโนโลยีนี้ช่วยคนพิการให้สามารถใช้คอมได้ ด้วยเทคโนโลยี EYECAN+ ซึ่งพัฒนาโดย Samsung สามารถสั่งงานโดยใช้สายตาในการควบคุมเม้าส์ได้ จากเดิมปกติต้องใช้มือในการคุมเมาส์ 

  
          หลักการทำงานนี้ ในช่วงแรก EYECAN+ จะเรียนรู้เอกลักษณ์ของสายตาของผู้ใช้ก่อน แต่ในช่วงหลังเครื่องสามารถจดจำการทำงานของสายตาผู้ใช้ได้เอง โดยสามารถใช้สายตาผู้ใช้ในการบังคับเม้าส์เข้าถึงรายการคำสั่งต่างๆบนคอมพิวเตอร์ได้ โดยใช้สายตาในการมองบังคับ และกระพริบตาเพื่อคลิกเข้าสู่โหมดรายการต่าง

         
ซึ่งในส่วนผู้ใช้ในฐานะผู้พิการที่ไม่สามารถใช้แขนขาในการบังคับคอมได้นั้น เค้ากลับมองว่าEYECAN+ เปรียบเสมือนส่วนสำคัญแทนแขนขาในการเข้าถึงโลกคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว

         
แม้ว่า Samsung ยังไม่มีแผนมาขายจริง แต่ก็มีแผนที่จะบริจาค EYECAN+ ให้หน่วยงานต่างๆเพื่อการกุศล นับว่าเทคโนโลยีนี้ช่วยเหลือคนพิการได้เข้าถึง โลกคอมพิวเตอร์และไอทีได้มากขึ้น ทั้งนี้เทคโนโลยี EYECAN+ พัฒนานานแล้วตั้งแต่ EYECAN เวอร์ชั่นแรกเมื่อปี 2555 ก่อนที่จะมาเป็น EYECAN+ ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ 2 ในปีนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น